ตะวันตก


ที่ต้ง-อาณาเขต

–  ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน  เชียงใหม่  ลำพูน  และลำปาง  ดินแดนเหนือสุดของภาคตะวันตกอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง  จังหวัดตาก

–  ทิศใต้  ติดต่อกีบจังหวัดชุมพร  ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคตะวันตก  อยู่ที่ตำบลทรายทอง  อำเภอบางสะพานน้อย  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

–  ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  นครปฐม  อุทัยธานี กำแพงเพชร  สุโขทัย  นครสวรรค์  และอ่าวไทย

–  ทิศตะวันตก  ติดต่อกับประเทศพม่า  โดยมีแนวทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดน  ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาค

ตะวันตกอยู่   ที่อำเภอท่าสองยาง  จังหวัดตาก

ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย

ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ

ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาภาคตะวันตก  มีความคล้ายคลึงกับภาคเหนือคือ
มีภูเขาสูงๆสลับกับหุบเขาแคบๆเป็นแนวภูเขาที่สลับซับซ้อน และมีบริเวณส่วนหนึ่ง
ที่อยู่ติดกับทะเลในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิวเขาในภูมิภาค
เป็นแนวต่อเนื่องมาจากทิวเขาในภาคเหนือ ได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรี 

 

 

 

แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่     
-แม่น้ำแควน้อย(แม่น้ำไทรโยค)
-แม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลอง
-แม่น้ำเมย
-แม่น้ำเพชรบุรี
-แม่น้ำปราณบุรี

กษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก แบ่งออกได้เป็น 2 เขตใหญ่ๆ คือ

1.เขตเทือกเขา เป็นเทือกเขาสูงทอดตัวในแนวเหนือใต้ตั้งแต่จังหวัดตากถึงประจวบคีรีขันธ์ เป็นแนว
พรมแดน ธรรมชาติที่กั้นระหว่างไทยกับพม่า ที่สำคัญได้แก่
1.1 เทือกเขาถนนธงชัย
1.2 เทือกเขาที่อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย
1.3 เทือกเขาตะนาวศรี
ระหว่างเทือกเขาต่างๆ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับอยู่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเหล่านี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก
ที่เรียกว่า แอ่งกราเบน กลายเป็นหุบเขาและลุ่มแม่น้ำ บริเวณที่ยกตัวสูงขึ้นเรียกว่า ฮอร์สต์ กลายเป็นภูเขา
และเทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่ม แม่น้ำแควใหญ่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อยและที่ราบลุ่มแม่น้ำ
เพชรบุรี
เมื่อแบ่งพื้นที่ภาคตะวันตกตามระดับความสูง จะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 58 เป็นภูเขาสูง ร้อยละ 23
เป็นที่ราบ และร้อยละ 19 เป็น ที่ราบเชิงเขา ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายคลึงกับภาคเหนือ
คือเป็นเทือกเขาสูงสลับหุบเขาแคบ ทางตะวันตกจะมีเทือกเขา สูงเป็นแนวยาวต่อเนื่อง จากภาคเหนือทอด
ตัวลงไปทางภาคใต้ ส่วนทางตะวันออกจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล
2.เขตที่ราบ: ได้แก่ บริเวณที่อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบภาคกลางและอ่าวไทย โดยมีอาณาบริเวณ
ตั้งแต่ทางด้าน ตะวันออกของจังหวัดกาญจนบุรี ต่อมายังจังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เขตนี้แบ่งออก
เป็นสองเขต ย่อยได้แก่
เขตที่ราบขั้นบันได: บริเวณที่ราบทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี เป็น
ที่ราบที่เกิดจากการสะสมตัว ของตะกอนโดยอิทธิพลของแม่ น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ที่ราบในเขตนี้
จะสูงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งติดต่อกับเขตเทือกเขาแล้วค่อยลาดต่ำลงมาทางตะวันออก และตะวัน
ออกเฉียงใต้ จนจดที่ราบภาคกลาง และอ่าวไทย มีลักษณะคล้ายขั้นบันได
เขตที่ราบชายฝังทะเล : บริเวณตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดเพชรบุรีเลียบชายฝั่งทะเลลงไปจนสุดเขต
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ราบดังกล่าวนี้ เป็นที่ราบแคบๆ ยาวๆ ที่เกิดจากการกระทำของคลื่น ซึ่งเป็น
ที่ราบชายฝั่งทะเลยกตัว

ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก                                                                                                                                                     top

ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะ

ของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้

1. เขตเทือกเขา ได้แก่

– เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก

– เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี

– เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย

2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง

แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว

 

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก                                                                                                                                                         top

– แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม

– แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย

– แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่

– แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน

– แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี

– แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก                                                                                                                                                     top

ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น

เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูง

และกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัด

ตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

 ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก

1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น

2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก

คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน

3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี

4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง

 

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก                                                                                                                                                 top

1. ทรัพยากรดิน

ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก

หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด

2. ทรัพยากรน้ำ

ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น

เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ,

เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี

3. ทรัพยากรป่าไม้

ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และ

ป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก

4. ทรัพยากรแร่ธาตุ

ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติ

มีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

 

ประชากรในภาคตะวันตก

ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง

พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุด

คือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัด

 

ใส่ความเห็น