การนับและการเทียบศักราชของตะวันตก

            ชาวตะวันตกในช่วงหนึ่งได้รับอิทธิพลของระบบปฏิทินโรมันโบราณ คือ ปฏิทินเกรกอเรียน ที่เริ่มใช้ครั้งแรกโดยการประกาศของสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582  ซึ่งถูกคิดค้นมาใช้แทนปฏิทินจูเลียน ( ตั้งชื่อตามนามของจูเลียส ซีซาร์ ) เพราะปฏิทินจูเลียนซึ่งมี 365.25 มีเวลานานกว่าวันจริงที่มี 365.2425 ทำให้วันคลาดเคลื่อนไป ปีหนึ่ง ๆ มีเวลานานเกินไปถึง 11 นาที 14 วินาที เท่ากับว่าทุก 400 ปี จะมีวันเพิ่มขึ้น 3 วัน จึงทำปฏิทินขึ้นใหม่ ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันได้ถูกร่นหายไป 10 วัน โดยสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ที่กำหนดให้วันรุ่งขึ้นจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ตามปฏิทินจูเลียน กลายเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1583 ตามปฏิทินเกรกอเรียน เริ่มแรกมีแต่ประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเท่านั้นที่ใช้ปฏิทินเกรกอเรียน ต่อมาอังกฤษเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน ส่วนกรีซเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1923

 

หลังจากนั้นก็เกิดการนับคริสต์ศักราชขึ้น ซึ่งต่อมานิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เริ่มนับในปีที่พระเยซูถือกำเนิดเป็นปี่ที่ 1 หรือ  A.D. หรือ ค.ศ. ( Christian Era และ Anno Domini เรียกเป็นภาษาอังกฤษและภาษาละตินตามลำดับ แปลว่า ปีแห่งพระเจ้า) ส่วนปีก่อนพระเยซูกำเนิด จะเรียกว่า Before Christ ( B.C. )  ผู้เริ่มนับ  A.D. คนแรกคือ  ไดโอนิซิอุส  เอซิกุอุส บาทหลวงชาวโรมัน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 นับว่าพระเยซูเกิดวันที่ 25 ธันวาคม ปี 753 หลังการสถาปนากรุงโรม แต่ธรรมเนียมการเริ่มต้นปีใหม่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม จึงถือเอาวันที่ 1 มกราคม ปี 754 หลังสถาปนากรุงโรมเป็นการเริ่มต้นปีแรกแห่งคริสต์ศักราช หลังจากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 คริสต์ศักราชนี้จึงเป็นที่ยอมรับของสันตะปาปาแห่งกรุงโรม  ส่วน B.C. ผู้เริ่มต้นนับคือ บีด นักประวัติศาสตร์และนักเทววิทยาชาวอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ต่อจากนั้นมีการเผยแผ่ศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ การนับศักราชนี้จึงถูกนำออกไปใช้ด้วย ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจึงกลายเป็นมาตรฐานโดยทั่วไป

ใส่ความเห็น