การเลี้ยงสัตว์ใหญ่

   โพื้นเมืองเป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานานมีขนาดเล็กทนทานต่อสภาพ อากาศร้อนชื้นทนต่อโรคพยาธิและแมลงรบกวนได้ดีหากินเก่งให้ลูกดกสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบ ได้ดีซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ

และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ตามธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงการเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยสามารถ นำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ปัญหาที่สำคัญคือปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลงเนื่องจาก นโยบายการเลี้ยงโคที่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้เน้นการผลิตเพื่อบริโภคและทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยง โคพันธุ์ต่างประเทศทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมจนทำให้โคพื้นเมืองไม่ได้รับความเอาใจใส่ในด้านการเลี้ยงดู การปรับปรุงพันธุ์และขาดการอนุรักษ์พันธุ์อย่างจริงจังทำให้โคพื้นเมืองซึ่งสามารถเจริญเติบโตและขยาย พันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรถูกละเลยไป ทั้งๆที่โคพื้นเมืองมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสมกับ สภาพการเลี้ยงดูของเกษตรกรและสภาพท้องถิ่นมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมานับ พันๆ ปี ให้ลูกดกในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงง่ายโดยปล่อยให้หากินตามทุ่งหญ้าสาธารณะ ตามป่าละเมาะไล่ต้อนตามป่าเขาสามารถใช้เศษเหลือจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก นอกจากนี้ยังใช้ ต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำกว่าโคพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ 
      ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นเพราะการแข่งขันในการใช้พื้นที่การเกษตรเพื่อผลิตอาหาร และเครื่องอุปโภคโดยเฉพาะการผลิตอาหารโปรตีนเพื่อให้พอเพียงกับการบริโภคในท้องถิ่น จากข้อมูล เศรษฐกิจการปศุสัตว์ประจำปีพ.ศ.2542รายงานว่าประเทศไทยมีจำนวนโคเนื้อรวมทั้งสิ้น4,635,741ตัว ในจำนวนนี้ประกอบด้วยประชากรโคพื้นเมือง ซึ่งเลี้ยงกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ จำนวน 2,981,381ตัวกรมปศุสัตว์ได้เห็นถึงความสำคัญของการเลี้ยงโคพื้นเมืองเหล่านั้นไว้เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร ทางพันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนเนื่องจากโคพื้นเมืองมีความสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอย ู่ของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ ในด้านใช้เป็นอาหารสัตว์ใช้งานธนาคารออมทรัพย์ของเกษตรรายย่อย เป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมและทรัพยากรของประเทศกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการโครงการวิจัยทดสอบ พันธุ์และกระจายพันธุ์โคพื้นเมืองในเกษตรกรรายย่อย โดยร่วมมือกับเกษตรกรในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์โคพื้นเมืองในทั่วทุกภาคของประเทศทั้งในแง่ผลิตเป็นโคเนื้อและโคที่ใช้เป็นกีฬาประจำท้องถิ่นนั้นๆส่งเสริม ให้มีการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่าย จัดวางแผนระบบการจัดเก็บข้อมูลและฐานข้อมูลที่จะเอื้อประโยชน์ต่อ การอนุรักษ์ ปรับปรุงการให้ผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าเดิม กระจายพันธุกรรมโคพื้นเมืองที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ แล้วอย่างมีระบบและพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกในอนาคต

      อาชีพการเลี้ยงโคนม อาจกล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรบ้านเรา   แต่ตามความเป็นจริงประเทศเราได้เคยสั่งโคนมพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงเมื่อกว่า   50  ปีล่วงมาแล้ว   แต่การเริ่มต้นเลี้ยงในครั้งแรกประสบปัญหาบางประการ   จึงนับว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2508  เป็นต้นมา  อาชีพการเลี้ยงโคนมจึงได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งและเริ่มรู้จักแพร่หลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามอาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่กันไปกับอาชีพอื่น  เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดทั้งทางตรงและทางอ้อม

          ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมาก ที่หันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม   ทั้งนี้เพราะได้เห็นตัวอย่างจากเพื่อนเกษตรกรที่ยึดอาชีพเลี้ยงโคนมมาก่อน   ปรากฏว่ามีรายได้ดีสามารถช่วยเหลือตัวเองได้   ทำให้ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น   อีกทั้งยังได้รับผลพลอยได้อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย   เช่นทำให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์   มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้นและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์   มูลสัตว์ยังใช้เป็นปุ๋ยและช่วยบำรุงดิน ฯลฯ   นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมากซึ่งเคยประกอบอาชีพอย่างอื่น  เช่น  ทำสวน   ทำไร่   ทำนา   ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ   ต่างก็หันมายึดอาชีพการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลักซึ่งส่วนใหญ่ก็ประสบผลสำเร็จ   นั่นหมายถึงได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและทำให้เศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้นเป็นลำดับและมีความมั่นคงถาวรสืบไป

โคเนื้อเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่โคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่โคสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด จึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของโคระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

การเลี้ยงแม่โคเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลีอกพันธุ์โคที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกโคที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงโค ปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร ดังนั้น จะต้องทราบว่าโคพันธุ์ต่างๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยงที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร

การเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับค่าอาหารที่ค่อนข้างดีอย่างเต็มที่ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือนอกจากจะให้โคกินอาหารหยาบ (หญ้าหรือฟาง) แล้วยังมีการให้กินอาหารข้น (อาหารเสริม) เพิ่มเติมอีกด้วย ทำให้โคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี

   กระบือนับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อระดับเกษตรกรรายย่อย ในชนบทอยู่ตลอดมาโดยนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตการเกษตรที่มีการเพาะปลูกเป็นรายได้หลัก นานมาแล้วที่กระบือถูกใช้เป็นแหล่งแรงงานในการเกษตร การใช้มูลเป็นปุ๋ยและเมื่อมีความจำเป็นก็สามารถขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย ในขณะเดียวกันสามารถใช้ผลพลอยได้ในไร่นาซึ่งมีราคาถูกมาใช้เป็นอาหารกระบือเลี้ยงเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเนื้อสัตว์ที่มีราคาสูงได้ จะสังเกตได้ว่ากระบือพื้นเมืองและ.โคที่เลี้ยงด้วยอาหารแบบเดียวกันและอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันนั้น โคจะมีร่างกายผอมในขณะที่กระบือยังคงสภาพเดิม ซึ่งอาจเนื่องจากความแตกต่างทางด้านสัณฐานวิทยาสรีระวิทยา และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้กระบือมีความแตกต่างจากโคและเอื้อประโยชน์ในการนำเอาสารอาหารไปเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค อย่างไรก็ตามจากข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการเลี้ยงกระบือของเกษตรได้ถูกละเลยจากภาครัฐ และแม้กระทั่งเกษตรกรเองก็นิยมและหันไปเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างประเทศ การเลี้ยงกระบือของเกษตรกรยังเป็นไปแบบพื้นบ้านไม่มีระบบการผลิตในเชิงธรุกิจ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการมองข้ามความสำคัญดังกล่าวซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรเองด้วย  

ใส่ความเห็น