เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน

ราชบัณฑิตยสถาน (อังกฤษ: Royal Institute of Thailand) เป็นส่วนราชการไทยประเภทกรม ซึ่งไม่สังกัดหน่วยงานใด ๆ ของรัฐ หากขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีชื่อเสียงในด้านการจัดทำพจนานุกรมและการบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ ภาษาไทย ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่ค้นคว้า บำรุงรักษา เผยแพร่ และพัฒนาวิทยาการทุกแขนงเพื่อประโยชน์สาธารณะ

อำนาจหน้าที่

ราช บัณฑิตยสถาน เป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้

  1. ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
  2. ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสานงานทางวิชาการกับองค์กรปราชญ์และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  3. ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
  4. ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชนและประชาชน
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และงานวิชาการอื่น ๆ
  6. กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้เปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น
  7. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน

ราช บัณฑิตยสถานมีหน้าที่ในการค้นคว้า วิจัย และนำเสนอผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่หน่วยงานราชการและประชาชน ทั้งนี้ยังมีหน้าที่สำคัญ คือ การจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธานธรรมชาติวิทยา การบัญญัติศัพท์วิชาการ และงานวิชาการอื่น ๆ

รายพระนามและรายนามนายกราชบัณฑิตยสถาน

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2469)
  2. ศาสตราจารย์พิเศษพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) (2490– 2512 รักษาการ)
  3. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2512– 2516 รักษาการ และ 2516 -2518)
  4. ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ (2518– 2519)
  5. ศาสตราจารย์เสริม วินิจฉัยกุล (2519– 2529)
  6. ศาสตราจารย์ พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รักตประจิต) (2529– 2532)
  7. ศาสตราจารย์ ดร. บุญพฤกษ์ จาฏามระ (2528– 2529 รักษาการ และ 2532 -2540)
  8. ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร กาญจนดุล (2540– 2542)
  9. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (12 เมษายน 2542–11 เมษายน 2543)
  10. ศาสตราจารย์ ดร.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (12 เมษายน 2544–11 เมษายน 2548)
  11. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช (12 เมษายน 2548–11 เมษายน 2552)
  12. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปัญญา บริสุทธิ์ (12 เมษายน 2552–11 เมษายน 2556)
  13. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สันทัด โรจนสุนทร (12 เมษายน 2556–11 เมษายน 2558)

ใส่ความเห็น